วันพฤหัสบดีที่ 27 ธันวาคม พ.ศ. 2555

สื่อมวลชลเพื่อการศึกษา









1.  
สื่อมวลชนเพื่อการศึกษามีกี่ประเภทอะไรบ้าง
     ตอบ    1. สื่อสิ่งพิมพ์ ได้แก่ หนังสือพิมพ์ วารสาร นิตยสาร หนังสือ และสิ่งตีพิมพ์ประเภทอื่น ๆ
           2. ภาพยนตร์ ทั้งภาพยนตร์เรื่อง ภาพยนตร์สารคดี และ ภาพยนตร์ทางการศึกษาบางประเภท
           3. วิทยุกระจายเสียง ได้แก่วิทยุที่ส่งรายการออกอากาศ ทั้งระบบ AM และ ระบบ FM รวมไปถึงระบบเสียงตามสาย
           4. วิทยุโทรทัศน์ เป็นสื่อทางกายภาพและทางเสียงที่เผยแพร่ออกไป ทั้งประเภทออกอากาศและส่งตามสาย
           5. สื่อสารโทรคมนาคม เป็นผลจากความก้าวหน้าด้านเทคโนโลยี มีการส่งข้อความ เสียง ภาพ ตัวพิมพ์ สัญลักษณ์ ต่าง ๆ ได้หลากหลาย ครอบคลุมกิจการสื่อสารผ่านดาวเทียม โทรภาพ โทรพิมพ์
           6. สื่อวัสดุบันทึก ได้แก่เทปบันทึกเสียง เทปบันทึกภาพ แผ่นบันทึกเสียง แผ่นบันทึกภาพ ซึ่งกลายเป็นสื่อมวลชน เพราะเทคโนโลยีที่ก้าวหน้าทำให้สามารถผลิตเผยแพร่ได้มากและอย่างรวดเร็ด


2.คุณค่าของสื่อมวลชนเพื่อการศึกษามีอะไรบ้าง จงอธิบาย
    ตอบ วิลเบอร์ ชแรมม์ นักวิชาการด้านการสื่อสารมวลชนได้กล่าวถึงบทบาทของสื่อสารมวลชน ที่เกี่ยวกับการศึกษาไว้ว่า สื่อมวลชนเปรียบเสมือนครู ที่ให้การศึกษาแก่ประชาชนทั้งทางตรงและทางอ้อม ให้ทั้งความรู้ทางวิชาการใหม่ๆ และเจตคติในด้านต่างๆ ( Schramm 1964 : 144) ซึ่งถือได้ว่ามีความเป็นจริงอย่างมากในสังคมปัจจุบัน เนื่องจากสื่อมวลชนต่างๆ ได้แสดงบทบาทหน้าที่ทางด้านการศึกษาให้เห็นอย่างเด่นชัดคุณค่าของสื่อมวลชนด้านการศึกษาได้ดังนี้ คือ 

1. กระตุ้นความสนใจการรับความรู้ข่าวสารจากสื่อมวลชน เป็นกิจกรรมที่เกิดขึ้นตามความพอใจ ของแต่ละบุคคล แตกต่างจากการเรียนในห้องเรียนที่มีครูบังคับควบคุม
2. ความเข้าใจเรื่องราวสื่อมวลชนโดยทั่วไป จะเสนอความรู้ข่าวสารที่ผู้รับสามารถรับรู้ และเข้าใจโดยง่าย โดยอาศัยเทคนิควิธีการต่างๆ
3. อิทธิพลต่อการเปลี่ยนแปลงเจตคติมีอิทธิพลอย่างสูงต่อการเปลี่ยนแปลงเจตคติ ความเชื่อ ค่านิยมของบุคคล ซึ่งเป็นสิ่งที่สอนได้ยากด้วยวิธีการสอนทั่วๆไป
4. คุณค่าของเนื้อหา มีลักษณะที่เป็นคุณค่าสำคัญ 3 ประเภทคือ
          4.1 ความหลากหลาย
          4.2 ความทันสมัย
          4.3 ความเกี่ยวข้องกับชีวิตและสังคม สามารถนำไปใช้ได้ทันที
5. ความสะดวกในการรับ
6. การลงทุนทางการศึกษาเป็นการลงทุนที่ถูกมาก

         สื่อมวลชนนั้นมีบทบาทสำคัญต่อการศึกษา ทั้งนี้เนื่องจากประชาชนจะต้องรับข่าวสารจากสื่อมวลชนอยู่เป็นประจำตลอดชีวิต ประกอบกับเหตุผลและความจำเป็นต่างๆ แต่สื่อมวลชนก็เปรียบสมือนดาบสองคม เพราะสื่อมวลชนมีทั้งประโยชน์และโทษอยู่ในตัว เป็นเหมือนกระจกสะท้อนภาพในสังคม มันสามารถเปลี่ยนแปลงบางสิ่งบางอย่างได้อย่างไม่น่าเชื่อ ดังนั้นจึงมีความจำเป็นต้องจัดการศึกษาเกี่ยวกับสื่อมวลชนศึกษา เพื่อให้ประชาชนสามารถเลือกและใช้ประโยชน์จากสื่อมวลชนได้อย่างเหมาะสม

           การนำสื่อมวลชนเพื่อการศึกษามามีประโยชน์ในการจัดการเรียนการสอนเป็นอย่างมาก เนื่องด้วยสื่อการมวลชนเป็นช่องทางในการเรียนรู้ที่หลากหลาย ซึ่งจะเป็นการเพิ่มโอกาสให้แก่บุคคลที่สนใจที่จะศึกษา แต่สื่อก็ย่อมมีข้อจำกัดของการศึกษาอยู่ เช่น การเรียนรู้บางอย่างถูกจำกัดเฉพาะในห้องเรียนเป็นส่วนใหญ่


3 . ให้นิสิตยกตัวอย่างสื่อมวลชนเพื่อการศึกษามา 1 รายการ พร้อมอธิบายประโยชน์ของรายการนั้น ๆ
ตอบ  บทเรียนอิเล็กทรอนิกส์ยังช่วยเสริมประสิทธิภาพการเรียนการสอนในวิชาต่างๆ เช่น ฟิสิกส์ เคมี ชีวะ ภาษาต่างประเทศ ทำให้บทเรียนมีความน่าสนใจมากขึ้น และเกิดความเข้าใจได้ง่ายขึ้น เช่น 
การแสดงสถาณการณ์จำลอง แบบจำลอง ภาพเคลื่อนไหว แสงสีและเสียงประกอบ นักเรียนสามารถเตรียมตัวก่อนเรียน หรือทบทวนบทเรียนด้วยตนเองเมื่อใดก็ได้ที่มีเวลาว่าง













โทรคมนาคมเพื่อการศึกษา Telecommunication for Education










1. โทรคมนาคม หมายถึงอะไร และมีประโยชน์ทางการศึกษาอย่างไรบ้าง
ตอบ โทรคมนาคม หมายถึง การส่งสารสนเทศในรูปแบบ ของตัวอักษร ภาพ เสียง โดยใช้กระบวนการที่หลากหลาย ไปยังผู้รับสารที่ต้องการเรียนรู้หรือการจัดการศึกษาในรูปแบบต่างๆ
ประโยชน์ของโทรคมนาคมทางการศีกษา
            - ช่วยติดต่อสื่อสารระหว่างกันได้อย่างรวดเร็ว
            - ช่วยในการจัดระบบข่าวสารจำนวนมหาศาล ที่ผลิตออกมาในแต่ละวัน
            - ช่วยเก็บสารนิเทศไว้ในรูปที่สามารถเรียกใช้ได้ครั้งแล้วครั้งเล่าได้อย่างสะดวก
            - เพื่อประสิทธิภาพในการผลิตสารนิทศ
            - ลดอุปสรรคเกียวกับระยะเวลาและระยะทางระหว่างประเทศ


2. การใช้ Facebook เป็นโทรคมนาคมเพื่อการศึกษาหรือไม่ ถ้าเป็นจงยกตัวอย่าง ประโยชน์ของ Facebook
ตอบ facebook เป็นโทรคมนาคมเพื่อการศึกษา เพราะเป็นการที่ประชุมทางไกล เป็นเทคนิคที่ใช้ในการสื่อสารระยะไกล เป็นการผสมผสานของสัญาณภาพ สัญญาณเสียงและข้อมูลผนวกกับเทคโนโลยีของเครือข่ายและการสื่อสารเพื่อตอบสนองความต้องการของมนุษย์ที่สามารถโต้ตอบกันในแบบ RealTime ระหว่าง 2 กลุ่ม หรือมากกว่าซึ้งอยู่ห่างไกลกัน และทำให้ผู้ที่ห่างกันสามารถติดต่อสื้อสาร รับข้อมูลข่าวสารกันและกันได้ อีกด้วย 

3. นิสิตสามารถรับชมโทรทัศน์ทางไกลผ่านดาวเทียมด้วยวิธีใด
ตอบ  1. ระบบ DSTV เป็นระบบผ่านจานรับสัญญาณดาวเทียม ในย่านความถี่ 
             KU-Band
         2. ระบบ CATV เป็นระบบโทรทัศน์ผ่านสายเคเบิล ซึ่งสามารถรับชมได้ในเขต
             กรุงเทพมหานครปละจังหวัดปริมณฑล สามารถรับชมรายการได้ 7 ช่อง



4. ประโยชน์ของโทรทัศน์ทางไกลผ่านดาวเทียมมีอะไรบ้าง จงอธิบาย
ตอบ  ประโยชน์จากการเรียนการสอนทางไกลผ่านดาวเทียม โดยวิธีการศึกษาผ่านระบบอินเตอร์เน็ตได้อีกทางหนึ่ง โดยไม่เสียค่าใช้จ่ายในด้านเนื้อหาวิชา (Free-Of-Charge Web-Based Information Content) ทั้งในระบบรายการถ่ายทอดสด (Live Broadcast) และระบบรายการตามคำสั่ง (On Demand) ทางเว็บไซต์ของ มูลนิธิการศึกษาทางไกลผ่านดาวเทียม และ สถานีวิทยุโทรทัศน์ 


5. นิสิตรับชมรายการจาก http://www.youtube.com/watch?v=OvUsY7oTEQc และจงอธิบายถึงประวัติความเป็นมาของสถานีโทรทัศน์ทางไกลผ่านดาวเทียมไทยคมศน์การศึกษาทางไกลผ่านดาวเทียม เป็นต้น
ตอบ พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว ทรงสนพระทัยในเรื่องของ ดาวเทียม มาตั้งแต่ครั้งที่ กรมไปรษณีย์โทรเลข ได้เริ่มใช้ดาวเทียม อินเทลสตาร์ เพื่อการติดต่อสื่อสารในปี 2510 และมีการสร้างสถานีภาคพื้นดินที่ ตำบลศุขลา อำเภอศรีราชา จังหวัดชลบุรี ต่อมาในปี 2522 ได้มีการเช่าสัญญาณวงจรดาวเทียม ปาลาปา ของอินโดนีเซีย มาใช้เพื่อการสื่อสารภายในประเทศ และถ่ายทอดสัญญาณโทรทัศน์ผ่านดาวเทียม ไปยังพื้นที่ต่างๆ ทั่วประเทศ ทรงศึกษาและติดตามความก้าวหน้า ของวิทยาการดาวเทียมนี้อย่างใกล้ชิด โดยเฉพาะการนำดาวเทียม มาใช้เพื่อประโยชน์ในการสำรวจทรัพยากรธรรมชาติ การแก้ไขปัญหาการใช้ที่ดินในแหล่งต้นน้ำลำธารบนภูเขาสูง รวมถึงการใช้ดาวเทียมตรวจสอบสภาพอากาศ ซึ่งต่อมาหน่วยงานต่างๆ ที่เกี่ยวข้อง ได้น้อมนำแนวพระราชดำริไปเป็นแนวทางในการปฏิบัติ ก่อให้เกิดประโยชน์ในด้านการอนุรักษ์ทรัพยากรธรรมชาติ การจัดสรรที่ดินทำกินให้แก่เกษตรกร การรักษาความมั่นคงปลอดภัยของประเทศชาติ และการพยากรณ์อากาศ

6. ให้นิสิตโพสรูปเกี่ยวกับโทรคมนาคมเพื่อการศึกษา
 ตอบ 






จิตวิทยาสีของการออกแบบสื่อการสอน

 1. ถ้าต้องการออกแบบและน้าเสนอ PowerPointถึงเรื่องราวด้านวัฒนธรรม ชุมชนโบราณ ควรใช้ใด ในการออกแบบเพราะเหตุใดจงอธิบาย  
ตอบ    การออกแบบถึงเรื่องราวด้านวัฒนธรรม ชุมชนโบราณ สีน้ำตาล ให้ความรู้สึก เก่าแก่โบราณ นึกย้อนถึง ชุมชนโบราณ วัฒนธรรมได้เป็นอย่างดีควรใช้ตัวอักษรที่อ่านได้อย่างชัดเจน อ่านง่าย ขนาดของตัวอักษรมีขนาดที่เห็นได้อย่างชัดเจน ไม่ใช้ตัวอักษรสีสะท้อนแสง สีฉูดฉาด การใส่ภาพประกอบเรื่องราวหากไม่จำเป็นไม่ควรมีอักษรในภาพ ตัวอักษรที่ใช้ควรให้เงาเพื่อเพิ่มความคมชัด ส่วนสีของตัวอักษรหรือภาพประกอบที่ใช้ควรใช้สีใสบายตา ใช้รูปเป็นจุดเด่น สร้างความสนใจ และไม่ให้อารมณ์ไปทางใดทานหนึ่งจนเกินไป



2.ให้นิสิตหาภาพถ่ายหรือภาพวาดจาก Google Search ที่ใช้สีตัดกันมา 2 ภาพพร้อมอธิบายการสื่อความหมายของภา
ตอบ   


จากภาพสีเขียวอ่อนจะเป็นสีหลัก สีที่ใกล้เคียง ที่เป็นสีรอง ในวงสีคือ เหลือง เขียว เขียวน้ำเงิน แต่มักนิยม ใช้เพียงแค่ 3 สี คือ เหลือง เขียวเหลือง เขียว โดยสีรองนี้ต้องนำมาลดค่าความสดใสลง โดยการผสมกับ สีคู่ตรงกัยข้ามในวงสี และที่ลำคัญก็คือ ใช้ในปริมาณที่น้อยกว่าสีหลัก การใช้สีเอกรงค์วิธีนี้ทำให้งานออกแบบนั้น มีความน่าสนใจ มีชีวิตชีวา มีความหลากหลายของสี แต่ดูโดยรวมแล้ว ยังออกเป็นสีสีเดียว มีจุดเด่น ที่สดใสในส่วนที่เป็นสีหลัก 


จากภาพเราใช้สีตรงข้ามกันเอามาตัดกันจะทำให้จุดสนใจอยู่ตรงภาพที่เอามาตัด ถ้าใช้สีตรงข้ามตัดกัน ควรจะให้สีหลัก 80% และสีรองเป็น 20% โดยประมาณ จะทำให้สีที่เราต้องการเป็นโทนสีหลัก เป็นการใช้สีตัดกันที่ชัดเจนอีกด้วย 


3. .ให้นิสิตหาตัวอย่างภาพจาก Google Search ในลักษณะการสร้างความกลมกลืน โดยใช้สีในลักษณะสภาพสีส่วนรวม (TONALITY OF COLOR) มา 2 ภาพพร้อมอธิบายการสื่อความหมายของภาพ
ตอบ    ภาพนี้เป็การนำเอาวัสดุเหลือใช้มาเป็นสื่อในการแสดงออก โดยนำเสนอในรูปแบบที่แปรเปลี่ยนไปจากเดิม เพื่อแสดงออกถึงความงามโดยแสดงความกลมกลืนของวัสดุที่เกิดจากรอยยับและการให้แสงเงาของวัสดุในภาพและเน้นความแตกต่างด้วยการใช้สีที่แตกต่างกัน แต่ก็ไม่มากเกินไป จุดสนใจของภาพก็คงเป็นกระป๋องสีเขียวซึ่งเป็นโทนเย็นชิ้นเดียวที่อยู่ท่ามกลางสีโทนร้อน สว่าง ๆ ส่วนจังหวะหรือการซ้ำกันขององค์ประกอบก็ทำได้ดีมาก 
      โดยสรุปแล้วภาพนี้มีความสวยงามในด้านของการให้สีที่สวยงามและการให้แสงเงาที่ชัดเจน แสดงถึงฝีมือและความชำนาญให้การให้แสงเงาต่อวัตถุ แต่ภาพนี้ก็ยังขาดการเน้นหรือการให้จุดสนใจที่ดี โดยรวมแล้วภาพนี้ถือเป็นงานจิตรกรรมที่ดีมากชิ้นหนึ่ง


สิ่งที่ปรากฎในธรรมชาติ จะมีความกลมกลืนกัน เป็นพื้นฐาน แม้จะมีรูปร่าง สีสัน ที่แตกต่างกันก็ตาม ธรรมชาติได้สร้างสรรค์มาอย่างกลมกลืน ลงตัว โดยเฉพาะด้านขนาดและสัดส่วน ของมนุษย์เรา จะมีความกลมกลืน เป็นความงามที่สมบูรณ์



จิตวิทยางานกราฟฟิกกับการออกแบบการสอน






1.เทคนิคการกลับพื้นภาพมีผลต่อสายตาผู้ดูอย่างไร
 ตอบ  สังเกตภาพจากการออกแบบกลับพื้นภาพ ทาให้เกิดการสร้างสรรค์งาน เป็นสัญลักษณ์ (Logo) และเป็นที่นิยม เพราะมีความแปลกใหม่ น่าสนใจ นอกจากนี้ยังมีผลของการมองเห็นว่า ภาพสีขาวที่อยู่ในพื้นสีดา จะทาให้ดูโตขึ้น 10-15 % สังเกตภาพตัวอักษร A ตัวอักษรดาและขาวโตเท่ากันในการทาต้นแบบ เมื่อตัว A อีกตัวหนึ่งไปอยู่ในพื้นดาทาให้ดูโตกว่า เทคนิคนี้นิยมนาไปใช้ทาตัวอักษรพาดหัวข่าวสาคัญในหน้าหนึ่งของหนังสือพิมพ์




2.ให้นิสิตหาภาพ ความลึก (Perspective) พร้อมอธิบายความหมายของภาพ

ตอบ ภาพวัตถุใดอยู่ใกล้จะใหญ่ ถ้าอยู่ไกลออกไปจะมองเห็นเล็กลงตามลาดับ จนสุดสายตา ซึ่งมีมุมมองหลัก ๆ อยู่ 3 ลักษณะ คือ วัตถุอยู่สูงกว่าระดับตา วัตถุอยู่ในระดับสายตา และวัตถุอยู่ต่ำากว่าระดับสายตา




3.ให้นิสิตหาภาพ ความขัดแย้ง (Contrast) พร้อมอธิบายความหมายของภาพ

ตอบ  การจัดองค์ประกอบให้เกิดความแตกต่างเพื่อดึงดูดความสนใจหรือให้เกิดความสนุกตื่นเต้น น่าสนใจ ลดความเรียบ น่าเบื่อ ให้ความรู้สึกฝืนใจ ขัดใจ แต่ชวนมอง จากภาพเป็นการตัดกันของสี และรูปร่างที่แตกต่างกันไป 




วันเสาร์ที่ 15 ธันวาคม พ.ศ. 2555

แบบฝึดหัดระหว่างเรียน

1. ให้นิสิตบอกความสำคัญของสภาพแวดล้อมการเรียนรู้ต่อการเรียนระดับปริญญาตรีสาขาศึกษาศาสตร์ 

ตอบ   สภาพแวดล้อมการเรียนรู้มีความสำคัญต่อการศึกษาปริญญาตรีสาขาศึกษาศาสตร์มากพอสมควร และสำคัญต่อการศึกษาในทุกระดับ ทุกแขนง เนื่องการการมีสภาพแวดล้อมที่ดี ที่เหมาะสมการผู้เรียนและผู้สอนแล้วนั้น ย่อมส่งผลให้การเรียนการสอน การศึกษาหาความรู้ของนักเรียน การถ่ายทอดความรู้ของครูเป็นไปอย่างมีประสิทธิภาพ เช่น สภาพแวดล้อมช่วยสนับสนุนการเรียนรู้หลายด้วย โดยจะเป็นการทำให้ผู้เรียนเกิดความพึงพอใจในการเรียน เป็นการกระตุ้นให้เกิดการอยากรู้อยากเรียนมากยิ่งขึ้น เป็นต้น
2. “การจัดสถานที่ โต๊ะ เก้าอี้ อุปกรณ์ต่าง ๆ ให้ง่ายต่อการเคลื่อนไหวโยกย้าย ทำให้ผู้สอนไปถึงตัวผู้เรียนได้สะดวก ตำแหน่งของผู้สอนไม่จำเป็นต้องอยู่หน้าชั้นเสมอไป ผู้สอนอาจนั่งอยู่ท่ามกลางผู้เรียนเพื่อให้คำปรึกษาจัดอยู่ในองค์ประกอบใดของสภาพแวดล้อมการเรียนรู้ เพราะเหตุใด
ตอบ
การจัดสถานที่ โต๊ะ เก้าอี้ อุปกรณ์ต่าง ๆ ให้ง่ายต่อการเคลื่อนไหวโยกย้าย ทำให้ผู้สอนไปถึงตัวผู้เรียนได้สะดวก ตำแหน่งของผู้สอนไม่จำเป็นต้องอยู่หน้าชั้นเสมอไป ผู้สอนอาจนั่งอยู่ท่ามกลางผู้เรียนเพื่อให้คำปรึกษา แนะแนวทางสภาพแวดล้อมเช่นนี้ช่วยให้ผู้สอนมีความใกล้ชิดกับผู้เรียนมากขึ้น ทำให้ได้รู้จักอุปนิสัย ตลอดจนพฤติกรรมของผู้เรียนเป็นรายบุคคลได้ดี ส่วนผู้เรียนจะลดความกลัว และมีความกล้ามากขึ้น กล้าพูด กล้าแสดงความคิดเห็น มีเจตคติที่ดีต่อผู้สอน
          เป็นการจัดองค์ประกอบของสภาพแวดล้อมทางการเรียนด้านกายภาพ เพราะ เป็นการเอื้อต่อการจัดการเรียนได้สะดวกและง่ายต่อการที่ครูสามารถเข้าไปดูแลเด็กนักเรียนได้ทั่วถึง
          เป็นการจัดองค์ประกอบของสภาพแวดล้อมทางการเรียนด้านจิตภาพ เนื่องจากมีครูเป็นตัวแปรสำคัญในการจัดการเรียนการสอน การแสดงบุคลิกของครูผู้สอนมีผลต่อความรู้สึกของนักเรียนทั้งในทางบวกและทางลบ
3. ให้นิสิตยกตัวอย่างการจัดสภาพแวดล้อมการเรียนรู้ รายวิชา 400202 เทคโนโลยีการศึกษา ตามองค์ประกอบของการจัดสภาพแวดล้อมการเรียนรู้
ตอบ
สภาพแวดล้อมการเรียนรู้สนับสนุนและอำนวยความสะดวกในการเรียนการสอน สภาพแวดล้อมการเรียนรู้ที่เหมาะสม
 1. สภาพแวดล้อมทางด้านกายภาพ เป็นสภาพแวดล้อมที่มนุษย์สร้างขึ้น ได้แก่ อาคารสถานที่ โต๊ะ เก้าอี้ สื่อ อุปกรณ์การสอนต่างๆ รวมทั้งสิ่งต่าง ๆ ที่อยู่ตามธรรมชาติได้แก่ ต้นไม้ พืช ภูมิอากาศ ภูมิประเทศ เป็นต้น สภาพแวดล้อมทางการเรียนด้านกายภาพ จะส่งผลต่อการเรียนการสอน และผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนของนักเรียน แบ่งออกเป็นสภาพแวดล้อมในห้องเรียนและสภาพแวดล้อมภายนอกห้องเรียน
2. สภาพแวดล้อมทางด้านจิตภาพ ได้แก่สภาพแวดล้อมที่มีผลกระทบต่อ ความรู้สึกจิตใจ เจตคติของนักเรียน ที่มีต่อการเรียนการสอน
3. สภาพแวดล้อมทางด้านสังคม ได้แก่ สภาพแวดล้อมที่เกิดจากปฏิสัมพันธ์ระหว่างบุคคล เช่น คามสัมพันธ์ระหว่าง นักเรียนกับนักเรียนด้วยกัน นักเรียนกับครูผู้สอน รวมถึงกฎ ระเบียบและข้อบังคับต่าง ๆ ของโรงเรียน องค์ประกอบของ สภาพแวดล้อมทางการเรียนด้านสังคม
4. องค์ประกอบสภาพแวดล้อมการเรียนรู้ด้านเทคโนโลยี  เทคโนโลยีคอมพิวเตอร์ เทคโนโลยีสารสนเทศและการสื่อสาร เป็นต้น เทคโนโลยีจึงเป็นมิติหนึ่งในการจัดสภาพแวดล้อมการเรียนรู้ ได้แก่ การสอนโดยใช้เครื่องฉาย ใช้ power point เป็นต้น
4. ถ้านิสิตได้รับมอบหมายให้ออกแบบสภาพแวดล้อมการเรียนรู้ห้องปฏิบัติการทางวิทยาศาสตร์ นิสิตจะจัดสภาพแวดล้อมการเรียนรู้ ตามองค์ประกอบ 4 ด้านอย่างไร จงอธิบาย
ตอบ
       ด้านกายภาพ....จะจัดให้ห้องเรียนมีความเป็นระเบียบเรียบร้อยผู้สอนสามารถดูแลนักเรียนได้อย่างทั่วถึง มีอากาศถ่ายเทสะดวก เพื่อที่จะให้นักเรียนเกิดการผ่อนคลายไม่ร้อนหรืออึดอัด
          ด้านจิตภาพ....ควรจัดให้มีนักเรียนไม่มากหรือน้อยเกินไปเพื่อไม่ให้อยู่ในสภาพแออัด จัดให้บรรยากาศในห้องเรียนมีความน่าตื่นเต้น ทำให้เด็กนักเรียนพร้อมที่จะเรียนรู้
          ด้านสังคม....มีการกำหนดกฎเกณฑ์รวมกันก่อนการเรียน เพื่อให้ผู้สอนและผู้เรียนเข้าใจตรงกันและช่วยให้การสอนเป็นได้ง่ายขึ้น
 เช่น การตรงต่อเวลา แต่งกายให้เรียบร้อยและเหมาะสม ไม่นำอาหาร เครื่องดื่มเข้ามารับประทานในห้อง มีมนุษย์สัมพันธ์ที่ดีกับเพื่อนในห้อง มีน้ำใจ มีการเสียสละ
          ด้านเทคโนโลยี...มีการนำสื่อทั้งเก่าและใหม่มาใช้ มีการทดลองให้เห็นภาพที่แท้จริงและมีทฤษฎีให้เห็นอย่างพอเข้าใจในเรื่องที่ไม่สามารถนำของจริงมาให้ดูได้ และครูต้องเป็นสื่อที่สำคัญที่สุดในการให้ข้อมูลความรู้เพิ่มเติม
5. แนวคิดเชิงทฤษฎีในการจัดสภาพแวดล้อมการเรียนรู้มีอะไรบ้าง จงอธิบาย
ตอบ
    ประการที่หนึ่ง ได้แก่แนวคิดเชิงปรัชญาการศึกษา ปรัชญาการศึกษาจะเป็นสิ่งบ่งชี้นโยบายในการจัดการศึกษา การจัดสภาพแวดล้อมการเรียนรู้จะต้องดำเนินไปให้สอดคล้องกับนโยบายนั้นๆ
          ประการที่สอง เป็นแนวคิดเชิงทฤษฎีทางด้านจิตวิทยา อันได้แก่ จิตวิทยาการเรียนรู้ จิตวิทยาพัฒนาการ จิตวิทยาสังคม ตลอดจนจิตวิทยาในการทำงาน หลักการต่าง ๆ ทางด้านจิตวิทยานี้จะช่วยให้เข้าใจพัฒนาการของผู้เรียนในแต่ละวัย การเรียนรู้การรับรู้เกิดขึ้นได้อย่างไร สภาพแวดล้อมที่จะช่วยเอื้อให้เกิดการรับรู้และเรียนรู้ได้ดีควรเป็นอย่างไร
          ประการที่สาม เป็นแนวคิดเชิงทฤษฎีการสื่อสาร เนื่องจากการเรียนการสอนนั้นเป็นกระบวนการติดต่อสื่อสารหรือเป็นการสื่อความหมายระหว่างผู้เรียนกับผู้สอนหลักการต่าง ๆ ของการสื่อสารจะช่วยในการตัดสินใจเลือกสื่อหรือจัดสภาพแวดล้อมให้เหมาะสม เช่นหลักการที่ว่าการสื่อความหมายจะได้ผลดีต่อเมื่อ ผู้รับเกิดความเข้าใจตรงกันกับผู้ส่ง ดังนั้นผู้สอนควรทำอย่างไร จะใช้สื่อชนิดใด หรือจัดสถานการณ์อย่างไรจึงจะช่วยให้เกิดความเข้าใจและเกิดการเรียนรู้ในที่สุด
          ประการที่สี่ เป็นแนวคิดเชิงเทคโนโลยีการศึกษา เป็นแนวคิดเกี่ยวกับระบบการเรียนการสอนที่ไม่เพียงแต่อาศัยสื่อประเภทวัสดุ อุปกรณ์เท่านั้น แต่ยังอาศัย เทคนิค วิธีการตลอดจนแนวคิดต่างๆ เพื่อมาปรุงแต่งสภาพแวดล้อมการเรียนรู้ให้เป็นที่น่าสนใจ หรือเร้าความสนใจของผู้เรียน
          ประการที่ห้า แนวคิดเชิงเออร์โกโนมิกส์ (ergonomics)ซึ่งเป็นการศึกษาเกี่ยวกับความสัมพันธ์ของมนุษย์กับสภาพแวดล้อมในการทำงาน G.F. McVey แห่งมหาวิทยาลัยบอสตัน ได้ศึกษาค้นคว้าเกี่ยวกับ เออร์โกโนมิกส์และการจัดสภาพแวดล้อมการเรียนรู้ มาเป็นเวลานานเพื่อค้นหาคาตอบว่า สภาพแวดล้อมการเรียนรู้ทางกายภาพลักษณะใดจงจะเหมาะกับผู้เรียนในแต่ละระดับ เช่น ความกว้าง ความสูง ของโต๊ะ เก้าอี้ ขนาดของห้องเรียน ขนาดของห้องฉายการติดตั้งจอ ระบบเสียงในห้องเรียน ห้องฉาย สภาพแวดล้อมทางกายภาพต่าง ๆ เหล่านี้ควรมีลักษณะอย่างไรจึงจะเอื้ออานวยความสะดวกสบาย ความปลอดภัยและการเรียนรู้อย่างมีประสิทธิภาพสูงสุดแก่ผู้เรียน

                               
***********************************************************